~
~
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ดินแดนอุดรธานี
เมื่อเดินไปถึงจุดหมาย น้องๆทีมงานช่วยกันวิดน้ำฝนที่ท่วมขังและกวาดขี้โคลนออกจากรอยพระพุทธบาทจนสะอาดตา
สภาพเดิมเมื่อค้นพบใหม่ๆ จะมีทรายปิดทับรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นหินสีธรรมชาติ และต่อมาชาวบ้านได้นำสีทองมาทาทับไว้
ห่างออกไปราว 50 เมตร บนโขลดหินด้านบนขึ้นไปอีก ปรากฏว่ามีร่องหินคล้ายรอยเท้า แต่ไม่มีการสลักหินเป็นรูปบนฝ่า และมีขนาดเล็กกว่ารอยแรกที่พบ
~
~
อย่างชัดเจน โดยก่อนจะเดินขึ้นมาถึงจุดที่รอยพระพุทธบาทประทับอยู่ประมาณ 200 เมตร จะเห็นภาพเขียนสีรูปก้นหอยสีแดง เขียนวนออกด้านนอกเป็นรัศมีคล้ายพระอาทิตย์ส่องประกายแสงอยู่หลายวง บนหน้าผาโขลดหิน คล้ายกับภาพเขียนที่ถ้ำคน ถ้ำวัว และกลุ่มภาพเขียนสีแดง รูปลายเลขาคณิตที่กระจัดกระจายอยู่บนพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และคล้ายกับภาพเขียนสีลายก้นหอยสีแดง ที่แหล่งโบราณสถานบ้านเชียง ที่มีอายุราว 2,500-1,800 ปีก่อนประวัติศาสตร์ ที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ประมาณ 100 กิโลเมตร..
ส่วนรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบนี้ จะมีอายุอยู่ในยุคสมัยใด คงต้อรอการพิสูจน์หลักฐานทางโบราณคดีกันต่อไป
~
~
โรงเรียนภูพระบาทวิทยา
โครงการศึกษาข้อมูลรายงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี
~
~
~
~